สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ผู้เรียบเรียง สุเทพ เอี่ยมคง

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง

สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันตินั้น นอกจากจะมีกฎหมายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดระเบียบแล้ว ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ยังเป็นแนวทางที่ใช้ยึดโยงให้สังคมมีความมั่นคงเข้มแข็งอีกด้วย เมื่อสังคมมีการพัฒนา เจริญเติบโต และมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลไกต่าง ๆ ที่จะจัดการให้สังคมมีความสงบสุขเกิดขึ้นนั้น จึงต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย และสิทธิและเสรีภาพจึงเป็นอีกกลไกหนึ่งในสังคม ที่จะกำหนดว่าสังคมนั้น ๆ มีความสุข สงบ และสันติ หรือไม่

ความหมาย

สิทธิ คือ ประโยชน์หรืออำนาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้มีการละเมิด รวมทั้งบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในการเลือกอาชีพ ถิ่นที่อยู่ การเดินทาง สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายความหมาย “สิทธิ” ไว้ว่า “ความสำเร็จ หรืออำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย”[1]

เสรีภาพ เป็นคำที่ถูกใช้เคียงคู่กับคำว่า “สิทธิ” เสมอว่า “สิทธิเสรีภาพ” จนเข้าใจว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน แท้จริงแล้ว คำว่า “เสรีภาพ” หมายถึง อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดำเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่การที่ มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแล้วแต่ละคนจะตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการสิ่งใดนอกเหนือ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ย่อมต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม ดังเช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บ่งบอกถึงเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพไว้อย่างน่าสนใจว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจะใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า …”[2]

สิทธิและเสรีภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบ่งชี้ว่าสังคมหรือบ้านเมืองใด มีความสงบสุขมีสันติ มีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่

สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้นำเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน”[3] และ “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”[4] แม้ว่าจะวางหลักไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่ในเมื่อไม่มีกฎหมายมารองรับ ในบางเรื่องจึงมีการละเมิดจนเกิดผลเสียต่อการปกครองบ้านเมือง เช่น การตั้งสมาคมคณะราษฎร ที่มีกิจกรรมในทางการเมืองประหนึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะราษฎรกับขุนนางชั้นสูง เป็นต้น

นับแต่นั้นมา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นประการสำคัญเสมอ เพราะมองว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากละเลยหรือไม่คุ้มครองเรื่องเหล่านี้ย่อมส่ง ผลต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบการจัดทำไว้ว่า “…มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น…”[5] และในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ยึดกรอบดังกล่าว และได้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้งได้กำหนดออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อความเข้าใจของประชาชนผู้ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ

การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยแบ่งออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนมีเจตนารมณ์สรุปได้ดังนี้

1. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยจากการใช้อำนาจใด ๆ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร

2. ความเสมอภาค มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติแก่บุคคลที่มีความแตกต่างกันว่าย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

3. สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มีเจตนารมณ์เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในเคหสถาน การเลือกที่อยู่อาศัย การเดินทาง เกียรติยศชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว การสื่อสารของบุคคล การนับถือศาสนา การป้องกันมิให้รัฐบังคับใช้แรงงาน

4. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกี่ยวกับความ รับผิดทางอาญามิให้ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่กระทำความผิด คุ้มครองความเสมอภาค และการเข้าถึงได้โดยง่ายในกระบวนการยุติธรรม การได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

5. สิทธิในทรัพย์สิน มีเจตนารมณ์เพื่อประกันความมั่นคงในการถือครองทรัพย์สิน ประกันสิทธิของผู้ถูกเวนคืนทรัพย์สินที่ต้องกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรม

6. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มีเจตนารมณ์เพื่อประกันเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การแข่งขันทางธุรกิจที่เป็นธรรม ความปลอดภัย สวัสดิภาพ และการดำรงชีพของคนทำงาน

7. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคลและสื่อมวลชนด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การกำหนดมิให้รัฐจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของบุคคล เว้นแต่เพื่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อคุมครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อีกทั้งเพื่อป้องกันมิให้รัฐสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ คุ้มครองและจัดสรรคลื่นความถี่อย่างเป็นธรรม ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และป้องกันการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย จึงป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม รวมถึงการแทรกแซงทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มีเจตนารมณ์เพื่อให้บุคคลมีความเสมอภาคในการได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งรัฐจะต้องจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้เรียน คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

9. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสาธารณสุขจากรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ การดำรงชีพของผู้สูงอายุ

10. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ การรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การร้องทุกข์ การโต้แย้งการปฏิบัติราชการในทางปกครอง และเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ

11. เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ คุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะ คุ้มครองการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น คุ้มครองการตั้งพรรคการเมืองเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบบรัฐสภา

12. สิทธิชุมชน มีเจตนารมณ์เพื่อรับรองสิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม คุ้มครองบุคคลในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

13. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุ้มครองบุคคลในการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองด้วยวิถีทางที่มิชอบ

ทั้งนี้ หากได้พิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่าสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนั้น จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ (1) สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล (2) สิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ และ (3) สิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชน นอกจากจะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแล้ว ในความเป็นประชาคมโลกที่มีความแตกต่างกันตามอัตลักษณ์ของแต่ประเทศ จึงมีวิถีปฏิบัติต่อประชาชนของตนแตกต่างกัน และเพื่อให้มนุษย์ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเหมือนกัน จึงได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศภาคีสมาชิกยึดถือปฏิบัติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หากพบว่าประเทศภาคีสมาชิกใดละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ย่อมได้รับการลงโทษ ตอบโต้ หรือนำมาตรการทางเศรษฐกิจมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้.

อ้างอิง

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 1 : อักษรเจริญทัศน์. กรุงเทพฯ, 2525.
  2. http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm ; วันที่ 20 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 นาฬิกา
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 . มาตรา 12, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 537. วันที่ 10 ธันวาคม 2475.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475. มาตรา 13, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 537. วันที่ 10 ธันวาคม 2475.
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. คำปรารภ, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1. วันที่ 11 ตุลาคม 2540.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

  • เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย

 

“ซูจี” เปิดประชุมปางโหลง เรียกร้องชาติพันธุ์เอาชนะความแตกต่างเพื่อไปสู่สันติภาพ

ข่าวจาก มติชนออนไลน์

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า หรือการประชุมปางโหลงในศตวรรษที่ 21 เริ่มขึ้นแล้วที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม เพื่อหาทางยุติเหตุนองเลือดที่เกิดจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่มีมายาวนานหลายสิบปี และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนที่ต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศพม่า

ข่าว ระบุว่า นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เป็นประธานเปิดการประชุมที่มีผู้นำของกลุ่มกบฏ รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและทหารพม่า เดินทางมาร่วมงานหลายร้อยคน ตามนโยบายของนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าที่ต้องการปรับโฉมประชาธิปไตยของ ประเทศในฐานะประเทศเกิดใหม่หลังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารมานานหลายสิบปี

ด้าน นางซูจี กล่าวในการเปิดการประชุมเรียกร้องให้กลุ่มชาติพันธุ์เอาชนะความแตกต่างเพื่อ ไปให้ถึงเป้าหมายคือสันติภาพ โดยขอให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพ เอาชนะความเห็นที่แตกต่าง ก็จะสามารถสร้างประชาธิปไตยที่เป็นไปอย่างที่ฝันได้ หากทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน ประเทศชาติก็จะไปสู่สันติภาพ เมื่อประเทศมีสันติภาพ ก็จะมีความเท่าเทียมกับชาติอื่นๆในภูมิภาคและทั่วโลก

ชาร์ลส์ ดาร์วิน

บิดาแห่งวิชาพันธุ์ศาสตร์

ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ระยะต่อมา ดาร์วินเห็นว่าอินทรีย์มีการแข่งขันกันเพื่อต่อต้านอำนาจของธรรมชาติ อินทรีย์ที่มีลักษณะดีที่สุด สามารถต่อสู้กับแรงกดดันได้มากที่สุด สามารถมีชีวิตรอดในอัตราส่วนสูงที่สุด จะถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม นั้นให้กับอินทรีย์รุ่นต่อมา ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรม ก็ยังมีนักสังคมศาสตร์หลายคนได้นำเสนอแนวความคิดประยุกต์ทฤษฎีวิวัฒนาการ มาอธิบายวิวัฒนาการวัฒนธรรมเช่น การปรับตัวของวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ เหมือนกับการปรับตัวของสัตว์ ความคิดนี้เรียกว่า Social Darwinism เป็นลัทธิที่อธิบายว่านโยบายชาวผิวขาวของชาติตะวันตกย่อมมีลักษณะ ดีกว่าสามารถครอบงำประชากรโลกที่สามได้

เกิดเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 สถานที่เกิด ในชูร์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ ชาร์ล ดาร์วิน เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งได้ให้ผลการพิสูจน์สำหรับทฤษฎีวิวัฒนาการ ในวัยเด็กดาร์วินสนใจในธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ เขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ในวิทยาลัย แต่ก็ไม่ชอบ จึงได้ศึกษาวิชาศาสนาแทน แต่ก็ศึกษาวิชาชีววิทยา ธรณีวิทยา และฟอสสิสไปด้วย ในปี 1831 หลังจากที่เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้ว เขาได้เดินทางศึกษาวิทยาศาสตร์รอบโลกด้วยเรือของราชนาวีอังกฤษที่ชื่อบีเกิล และได้รวบรวมฟอสสิสและศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่มีชีวิตที่เขาได้พบเห็น การเดินทางครั้งนี้ทำให้ดาร์วินมีความเชื่อว่าพืชและสัตว์ทั้งหลายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในทันทีทันใด แต่ชนิดของต้นไม้หรือสัตว์มีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนา สิ่งเก่าตายไปหลังจากเวลาอันยาวนาน ดาร์วินได้ใช้เวลา 20 ปี ต่อมาในอังกฤษรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของเขา และหมกมุ่นสนใจกับหลักฐานและความรู้สารพัดสิ่งที่ได้รับมา

ค.ศ. 1838 ดาร์วิน ได้รับตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม และลงมือศึกษากฎพื้นฐานสำคัญในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ค.ศ. 1839 เขาแต่งงานกับ เอมมา เวดจ์วูด และต่อมามีลูกด้วยกันถึง 7 คน

เขายังคงนิสัยรักธรรมชาติ และสนใจสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนอื่นมองข้าม เขาย้ายจากลอนดอนไปอยู่ชนบทเล็ก ๆ ในเคนท์ และชอบใช้ชีวิตเงียบ ๆ อยู่ในสวน อ่านหนังสือ ดูต้นไม้ เขียนจดหมายโต้ตอบกับเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักค้นคว้าด้วยกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด มีทัศนคติกว้างไกลยิ่งขึ้น

จากการศึกษาตัวเพรียง และซากฟอสซิลที่เก็บสะสมมา เขาเกิดสงสัยว่าทำไม รูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีการเปลี่ยนแปลง เขาลองผสมพันธุ์พืชและสัตว์ และเกิดความคิดทฤษฎีว่าด้วยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืชต้องการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่ ส่วนที่อ่อนแอ ไม่เหมาะสมก็จะตายหรือสูญพันธุ์ไป และดาร์วินก็ได้คิดทฤษฎีวิวัฒนาการที่ว่า สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเป็นผลของการพัฒนา สิ่งมีชีวิตในอดีตความเปลี่ยนแปลงนั้นดำเนินเป็นขั้นตอนโดยอาศัยเวลานานเป็นพันเป็นหมื่นปี ในช่วงนี้เองที่เขาเสนอแนวคิดว่ามนุษย์อาจมีวิวัฒนาการมาจากลิง ความคิดน่าขัน น่าอาย ดังกล่าวก่อให้เกิดการโต้เถียง ขัดแย้งกันรุนแรงแต่ก็ ทำให้ประชาชนหันมาสนใจ

ในที่สุดอีก 10 ปีต่อมาความคิดนี้ก็เป็นที่ยอมรับ แม้กระทั่งพวกพระหรือ นักบวชในศาสนา ดาร์วิน มีอายุยืนยาวถึง 74 ปี ตลอดเวลาเขาไม่เคยหยุดค้นคว้าเพราะความสนใจ และมีใจรัก ในช่วง ค.ศ. 1862-1881 เขามีงานเขียน เป็นหนังสือออกมาหลายเล่ม และเป็นที่น่าสนใจต่อมหาชน  ค.ศ. 1882 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ถึงแก่กรรม ในวันที่ 19 เมษายน ในนามของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ศพของเขาฝังอยู่ ณ โบสถ์ เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ใกล้กับศพของ ไอแซก นิวตัน ทุกวันนี้ทั่วโลกยังยึดหลักการพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการอยู่ เพียงแต่ รายละเอียดและประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างอาจถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะ-สม อีกทั้งยังมีการเสนอทฤษฎีและหลักฐานข้อมูลใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา

เช่น เมื่อ พ.ศ. 2535 ได้พบซากโครงกระดูกหรือจะพูดให้ถูกก็คือ ฟอสซิลโครงกระดูกและชิ้นส่วนบางอย่างของบรรพบุรุษมนุษย์ มีอายุถึง 4.4 ล้านปี เรียกกันสั้น ๆ ว่า รามิดัส ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานรู้ถึงอดีตแห่งวิวัฒนาการมนุษย์ได้มากขึ้น

รามิดัส เป็นบรรพบุรุษมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ เพราะมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่เรียกว่า ไฮโมซาเปียนส์นั้น มีกำเนิดเมื่อประมาณสามถึงสี่แสนปีมานี่เอง

เดิมทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน มนุษย์กับลิงมีจุดกำเนิดเดียวกันแล้วจึงแยกสายพันธุ์กันไปและการพบรามิดัสก็ทำให้เชื่อว่าบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์ กับลิงน่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อหกล้านปีก่อนจริงตามหลักฐานทางชีวเคมี

เรือหลวงบีเกิลและชาร์ลส์ ดาร์วิน ผุพังเสื่อมสลายตายจากไปตามกาลเวลา ทว่า ความดีงาม และคุณประโยชน์ที่ได้นั้น ได้มอบให้เป็นของขวัญอันล้ำค่าแก่ชาวโลกตลอดกาลนาน

ในปี 1859 เขาได้พิมพ์หนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ซึ่งมีชื่อว่า On the Origin of the Species ดาร์วินถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1882 เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุ์ศาสตร์  ผู้ค้นพบการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม

ทำไมไทยใหญ่ถึงสูญเสียเอกราช ..เพราะอะไร

อ้างอิงจาก  Tai Community Online

มีคนถามว่า..ทำไมไทยใหญ่ถึงสูญเสียเอกราช ..เพราะอะไร

 ก่อน ที่ไทยใหญ่จะเป็นของพม่า ก่อนสงครามโลก 2 รัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของไทย เป็นรัฐที่อยู่ในความควบคุมของ เชียงใหม่ ระหว่างอาณาจักรเชียงใหม่กับเชียงตุงก็เครือญาติกัน…ถ้าจะย้อนก่อนสงคราม โลกไปอีกสัก 220 ปี อาณาจักรล้านนากับอาณาจักรแสนหวีเป็นอาณาจักรพี่น้องกันถูกพม่าครอบงำทั้ง 2 อาณาจักร เป็นประเทศราชของพม่าเป็นเวลาเกือบ 300 ปี จนเมื่อ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสามารถกอบกู้อาณาจักรทั้งสองกลับคืนมาได้แล้ว…จึง รวมเป็นอาณาจักรโดยมีสภาพเป็นเมืองประเทศราชเหมือนเดิมแต่คราวนี้อยู่ภายใต้ “ชนชาติ” ไทยด้วยกัน คือ “ไทยสยาม” จนเป็นที่มาของชื่อรัฐ “ฉาน” ในพม่า นั่น คือ เพี้ยนมาจาก “สยาม” นั่นเอง ช่วงนี้อยู่ในอำนาจของอยุธยา ประมาณ 100 ปีเศษ ก็ต้องไปอยู่ใต้อำนาจพม่าอีกครั้ง คราวนี้ยาวนานเกือบ 300 ปี ที่เดียว รวมทั้งรัฐคะฉิน , ฉิน , กระเหรี่ยง แต่ก็หามีรัฐหรืออาณาจักรใดที่จะยอมอยู่ใต้พม่าจริง ๆ จึงมีการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระเรื่อยมา จนกระทั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปตีอาณาจักรเชียงใหม่ โดยแม่ทัพผู้เกรียงไกร นั่นคือ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ ซึ่งต่อมาคือ ร.1 และ สมเด็จพระบวรเจ้า ปลดปล่อยเชียงใหม่ รวมทั้งอณาจักรล้านนาบางส่วน คือ ไล่พม่าออกไปที่เชียงตุง จึงปลดปล่อยเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ ออกจากพม่าได้ ส่วน น่าน ตอนนั้นอยู่ในอำนาจของหลวงพระบางจึงปลอดอิทธิพลพม่า

และต่อมาก็สามารถตีเชียงตุงแตกและรวบรวมเชียงตุงเป็นของกรุงรัตนโกสิน หลังจากฝรั่งอังกฤษเข้ามาทำลายล้างอำนาจของกษัตริยืพม่า คือ พระเจ้าสีปอ โอรสของพระเจ้าประดุง คู่ปรับของ ร.1 โดยอังกฤษเอาเรือปืนยิงเข้าใส่พระราชวังอมรปุระของพม่า พม่าจัดกองทัพทหารออกมาต่อต้านราว 300,000 นาย มีทัพช้าง ม้า ทหารเลว ออกไปต่อสู้ แต่ พลังปืนไฟยิ่งใหญ่กว่าดาบ และ หอก ประเทสพม่าจึงต้องตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ นับแต่นั้นมาเวลาผ่านมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงคราม พม่าพยายามขอเอกราชกับอังกฤษโดยรวมมือกับอดีตรัฐปรัะเทศราชทั้งหลาย (กระเหรี่ยง ไทยใหญ่ คะฉิ่น ฉิ่น ยะไข่ มอญ โฮงฮิงยา) รวมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชโดยจัดตั้งเป็นสหภาพ จึงได้ทำสัญญากันขึ้นที่เมืองปางโหลง (ปางหลวง) ในดินแดนประเทศไทยใหญ่ (ไต) ภายใต้สนธิสัญญา”ปางหลวง” มีรายละเอียดว่า จัดตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เมื่อได้เอกราชแล้วรวมเป็นประเทศกันอีก 10 ปี หลังจากนั้นก็แยกประเทศใครประเทศมัน..ฝั่งพม่ามีนายพล ออง ซาน ซูจี (ประธานาธบดีคนแรกของพม่า ผู้มีเชื้อสายพระเจ้าประดุง) พ่อของหญิงเหล็กแห่งพม่า คือ นางออง ซาน ที่กำลังถูกพม่าติดตามอยู่ในปัจจุบัน ฝ่ายไทยใหญ่ มีเจ้าฟ้าไทยใหญ่ มีเจ้าเมืองเชียงตุงเป็นผู้นำ(ซึ่งปัจจุบันลูกหลานเจ้าเมืองเชียงตุงได้หนี เข้าไทยอยู่ตามเชียงใหม่เชียงราย เช่น ตระกูล “ขุนศึกเม็งราย” “ตุงนคร” เป็นต้น ปัจจุบันกลายเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์แล้วและบางท่านก็เป็นถึงแพทย์ผู้โด่งดัง บางท่านก็มีลูกหลานที่มีชื่อเสียงจะไม่ขอกล่าวในที่นี่

 หลังจากพม่าได้เอกราชจากอังกฤษและ หลังจากนั้นอีก 9.8 ปี นายพลอองซาน ถูกลอบสังหาร นาพลเนวินขึ้นมามีอำนาจแท่น พอครบสัญญา 10 ปี พม่าโดย เนวิน ฉีกสัญญาปางโหลงทิ้งไม่ยอมคืนประเทศให้กับชนเผ่าต่าง ๆ และยังส่งกองทหารเข้าทำลายสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ ของชนเผ่า เช่น ทำลาย วังเชียงตุง เป็นต้น ตลอดจนประชาชนที่ต่อต้าน เจ้าฟ้าไทยใหญ่บางท่านจำเป็นต้องลี้ภัย (ส่วนใหญ่เข้าไทยเพราะเป็นเชื้อสายเดียวกัน)

แต่ตอนที่ พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ อังกฤษถาม “เจ้าฟ้าไทยใหญ่” ว่าไปอยู่กับใคร “พม่า” หรือ “ไทย” แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เจ้าฟ้าไทยใหญ่ตัดสินใจผิดพลาด โดยเลือก “พม่า” เป็นที่พึ่งโดยหวังว่าจะได้ประเทศคืน แต่อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ…การกระทำของทหารไทย โดยการนำของจอมพลผิณ ชุณหวรรณ พ่อ ของท่าน พล.อ ชาติชาย นำกองทหารพายัพเข้าโจมตีญี่ปุนที่อยู่ในพม่าขณะนั่น และยึดเมืองเชียงตุงได้…แทนที่ทหารไทย..จะปฏิบัติกับ “ชาวไทยใหญ่” ซึ่งเป็นพี่น้องเชื้อชาติไทยด้วยกัน กลับกระทำตรงกันข้าม ทหารไทยทำการปล้น ฆ่า ข่มขืน (เพราะสาวไทยใหญ่ขาว หมวย) จนเป็นที่อื่มระอาของผู้นำชาวไทยใหญ่ จน จอมพลผิณ ต้องจับ ทหารไทยที่กระทำต่อ พี่น้องเชื้อชาติเดียวกัน ขึ้นศาลทหาร และทำการประหารชีวิตไปหลาย สิบ นาย รวมทั้งนายทหารชั้นนาย พัน นายหนึ่งด้วย ไม่ขอเอ่ยนาม จึงเป็นเหตุให้ อาณาเขต ของประเทสไทยแทนที่ จะมีดินแดนเลยจังหวัดเชียงรสายไปจดดินแดนจีนใต้..รวมไปจนถึง 12 ปันนา ก้เป็นเพราะทหารชั่ว ๆ ไม่กี่คนเท่านั้น

เมื่อ ม่าน ไม่คืน ก็ต้องมีการรบราฆ่าฟันกันเพื่อเอาคืน ชนเผ่าต่าง ๆ จึงจัดตั้งกองกำลังขึ้น ไทยใหญ่ก็จัดตั้งกองกำลังขึ้น โดยมีผู้นำตั้งแต่ เจ้าหาญศึก เจ้ากองเจิง(สู้จนแขนซ้ายขาด) เจ้าน้อยกำเนิน เรื่อยมาจนถึงยุคของ”ขุนส่า” ซึ่งเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ แต่ขุนส่า อาศัยขายยาเสพติดบังหน้าเพื่อหาเงินซื้ออาวุธ จนเมื่อ 2538 ขุนส่ายอมจำนนต่อพม่า….จึงมีขุนศึก ไทยใหญ่ แตกออกมา เป็นก๊ก เป็นเหล่า ปัจจุบันมี พ.อ. เจ้ายอดศึก เป็นผู้นำ มีฐานทัพอยู่ที่ดอยไตแลง มีทหารราว 10,000 นาย อยู่ความควบคุม เจ้าจายยี มีกำลังราว 6,000 นาย ปัจจุบันรวมกับ กองกำลังเจ้ายอดศึก เมื่อ เดือน พย. 48 ที่ผ่านมา หลังจากพม่าจับแกนนำไปหลังจากเดินทางไปร่วมประชุมโรดแม็ปที่ ย่างกุ้ง…เหมือน ๆ กับตัวแทนทุกชนเผ่าโดนจับ พร้อมกับ กักบริเวณ นาง อองซาน เจ้าจายยี่ ที่หยุดยิงไปแล้วจึงต้องนำทหารจับปืนต่อสู้อีกครั้ง ดดยไปรวมกับกองกำลังของเจ้ายอดศึก และ เมื่อวันที่ 12 เม.ย เป็นต้นมาจน ต้นเดืน พ.ค. 48 ทหารพม่าผสมว้าแดง นำกำลังขึ้นดอยไตแลง ดดยใช้อาวุธหนัด คอ . 81 ยิงถลุมเปิดทางถึง 2 วันเต็ม ๆ ก่อนที่จะนำทหารราบ ราว 1,000 นาย บุกขึ้นดอยไตแลง แต่ทหารไทยใหญ่ตลบหลัง ส่งกองโจรออกตัดกำลังซุ่มโจมตี จนทหารว้าและพม่า ต้องตายไปกว่ 800 คน และเร็ว ๆ วันนี้ ทัพพม่าราว 10,000 นาย ผสมว้าอีก 30,000 นาย เตรียมเข้าเผด็จศึกกองกำลังไทยใหญ่ที่ดอยไตแลง และฐานที่มั่นต่าง ๆ อีกไม่กี่วันข้างหน้านี่

สิ่งที่สลดใจอีกก็เกิด ขึ้น…เมื่อผู้อพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก คนแก่ ผู้หญิง ราว 3,000 คน ที่หนีภัยสงคราม เข้ามาอยู่ที่สันเขาน้ำเพียงดิน..แม่ฮ่องสอน…พร้อมกับกำลังว้าและ พม่า…แต่ ทางทหารไทยไล่..ชาวไทยใหญ่อพยพข้ามกลับไปให้ทหารว้ากับพม่าฆ่า….ก็ไม่เข้า ใจเหมือนกันว่าทำไมทหารไทยยุคนี้ไม่เหมือน…ทหารของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช…ที่ทหารไทยใหญ่เคารพนับถือ…ทุกคนจะแขวนเหรียญ..สมเด็จพระนเรศวร ของเราทุกคน….ก้เพราะเขานับถือและสมเด็จพนะนเรศวรก็นับถือรวมเอาไทยใหญ่ เป็น “ชนเผ่าไทย” ด้วยกันนั่นเอง…ไม่เหมือนกับทหารไทยยุคปัจจุบัน…โดยเฉพาะคนล้านนาเอง ซึ่งก่อนหน้านี่ก็รวมเป็นเผ่าเดียวกันไทยใหญ่ด้วยกัน…ยังดูถูกดูแคนเขา.. ว่าเป็นพม่าบ้าง ไทยใหญ่บ้าง…คนล้าสมัยบ้าง ไอ้พวกไม่มีบ้านอยู่บ้าง จริงๆพม่ากับไทยใหญ่แตกต่างกันมาก

…แต่…ก็ส่วนน้อย ที่เป็นแบบนี้..ถ้าใครมีญาติผู้ใหญ่ อายุ 70 ปี ขึ้น ก็จะทราบความเป็นมาของไทยใหญ่ได้มากขึ้น …เพราะคนแก่ชรา อายุปุนนี้ ย่อมทราบว่า..เงี๊ยวกับคนเมียง…คือชนเผ่าเดียวกันแต่ ตอนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษ อังกฤษถาม “เจ้าฟ้าไทยใหญ่” ว่าไปอยู่กับใคร “พม่า” หรือ “ไทย” แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เจ้าฟ้าไทยใหญ่ตัดสินใจผิดพลาด โดยเลือก “พม่า” เป็นที่พึ่งโดยหวังว่าจะได้ประเทศคืน แต่อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ…การกระทำของทหารไทย โดยการนำของจอมพลผิณ ชุณหวรรณ พ่อ ของท่าน พล.อ ชาติชาย นำกองทหารพายัพเข้าโจมตีญี่ปุนที่อยู่ในพม่าขณะนั่น และยึดเมืองเชียงตุงได้…แทนที่ทหารไทย..จะปฏิบัติกับ “ชาวไทยใหญ่” ซึ่งเป็นพี่น้องเชื้อชาติไทยด้วยกัน กลับกระทำตรงกันข้าม ทหารไทยทำการปล้น ฆ่า ข่มขืน (เพราะสาวไทยใหญ่ขาว หมวย) จนเป็นที่อื่มระอาของผู้นำชาวไทยใหญ่ จน จอมพลผิณ ต้องจับ ทหารไทยที่กระทำต่อ พี่น้องเชื้อชาติเดียวกัน ขึ้นศาลทหาร และทำการประหารชีวิตไปหลาย สิบ นาย รวมทั้งนายทหารชั้นนาย พัน นายหนึ่งด้วย ไม่ขอเอ่ยนาม จึงเป็นเหตุให้ อาณาเขต ของประเทสไทยแทนที่ จะมีดินแดนเลยจังหวัดเชียงรสายไปจดดินแดนจีนใต้..รวมไปจนถึง 12 ปันนา ก้เป็นเพราะทหารชั่ว ๆ ไม่กี่คนเท่านั้น

ทำไมจึงควรอ่าน “คาร์ล มาร์ก”

โดย: รศ.วิทยากร เชียงกูล

คาร์ล มาร์กซ์ (ค.ศ.1818-1883) เป็นนักวิชาการ ผู้สร้างความก้าวหน้าให้กับองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจสังคมของโลกอย่างสำคัญ

โดยเฉพาะวิธีการวิเคราะห์กฎการเปลี่ยนแปลงทาง สังคม,ลักษณะและกลไกการทำงานของระบบทุนนิยม วิกฤติเศรษฐกิจถดถอยที่ไม่มีทางออกนอกจากต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเสีย ใหม่

มาร์กซ์ถูกลดความสำคัญลง จากความล้มเหลวและการเปลี่ยนแปลงของประเทศสังคมนิยมและคนไปมองเขาเป็นเจ้า ลัทธิ ความเชื่อ แทนที่จะมองว่าเขาเป็นนักวิชาการและนักปฏิวัติผู้ชี้ทางในประวัติศาสตร์ยุค หนึ่ง ระบบเศรษฐกิจพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย จีน ฯลฯ ได้ทำกันโดยอ้างสังคมนิยมนั้น แท้จริงเป็นเพียงระบบทุนนิยมโดยรัฐ ที่นำโดยแกนนำพรรคกลุ่มน้อยผู้บริหารแบบเผด็จการแบบรวมศูนย์ ไม่ใช่สังคมนิยม ซึ่งมาร์กซ์หมายถึง ระบบที่บริหารโดยสมาคมคนงานผู้ผลิตอิสระที่เป็นประชาธิปไตย แบบสหกรณ์ผู้ผลิต ผู้บริโภค เน้นการผลิตเพื่อมูลค่าใช้สอย แบ่งปันให้ทุกคนอย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง

เราควรอ่านงานของมาร์กซ์ใหม่ เพราะ

1. มาร์กซ์ เป็นนักวิชาการที่ทำงานวิจัยอย่างนักวิทยาศาสตร์ คือ ค้นคว้าหาหลักฐานข้อพิสูจน์ตามสภาพข้อเท็จจริงทางสังคมอย่างเข้มงวด มาร์กซ์มีเครื่องมือและตัวอย่างการวิเคราะห์ ค้นพบทฤษฎี/แนวคิดในแนววัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ที่ก้าวหน้ากว่าวิธีการอื่นๆ อย่างมากทำให้เราได้การเปลี่ยนแปลงสังคมโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้อย่าง มองเห็นภาพรวมของสังคมมนุษย์ทั้งระบบ ที่มีวิวัฒนาการอย่างเป็นขั้นตอน มีกฎเกณฑ์ที่มีเหตุผล เห็นทั้งกระบวนการแบบภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง แทนที่จะเห็นสังคมแค่ภาพนิ่งและแยกเป็นส่วนๆ อย่างที่นักวิชาการคนอื่นๆ เสนอ

มาร์กซ์ได้วิเคราะห์ให้เห็นว่าระบบยุคชุมชนบุพกาล สังคมโบราณที่มีการใช้ทาส ศักดินา และทุนนิยม การผลิตแบบต่างๆ เปลี่ยนแปลงมาอย่างไรและมีอิทธิพลต่อการเมือง ความคิด อุดมการณ์ของมนุษย์และสังคมอย่างไร การค้นพบกฎเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของมาร์กซ์ โดยเฉพาะระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมอย่างเจาะลึก เป็นการบุกเบิกทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ระดับเดียวกับที่ชาร์ล ดาร์วินส์ นักชีววิทยาค้นพบกฎเกณฑ์เรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

2. มาร์กซ์ได้วิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมได้อย่างวิพากษ์เจาะลึก ทุนนิยมมีความขัดแย้งในตัวโครงสร้างระบบเองที่จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นระยะ บ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นตามลำดับ ความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของระบบทุนนิยม ที่สำคัญคือ 1) การสะสมและรวมศูนย์ทุนขนาดใหญ่อยู่ในมือนายทุนส่วนน้อยเพิ่มขึ้น ผลิตสินค้าล้นเกิน (Over Production) เพราะนายทุนต้องแข่งขันเพื่อเอาชนะและเพื่อกำไรสูงสุด นายทุนลดต้นทุนด้วยใช้เครื่องจักรเพิ่ม ลดการจ้างงาน ขูดรีดแรงงาน ทำให้อัตรากำไรโดยทั่วไปนายทุนทั้งระบบมีแนวโน้มลดลง นายทุนแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องจักรและหาวิธีขูดรีดแรงงานและธรรมชาติเพิ่ม ขึ้น ทำให้คนว่างงาน รายได้ต่ำ เป็นหนี้ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแรงงาน ขาดอำนาจซื้อ (Under Consumption) สินค้าที่นายทุนมุ่งผลิตให้ได้มากที่สุดจึงล้นตลาดขายไม่ออก 2) ความขัดแย้งทางชนชั้นระหว่างนายทุนผู้เป็นเจ้าของผู้ควบคุมทุนที่สะสมทุนและ ขยายการลงทุนเพื่อหากำไรส่วนตัว และชนชั้นคนงานผู้ผลิตมูลค่าใหม่ให้สินค้าและทำงานในกระบวนการผลิตแบบสังคม รวมหมู่ คนงานไร้ทุนเพิ่มจำนวนขึ้นและชีวิตคนงานยากลำบาก แปลกแยกมากขึ้น ความขัดแย้งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ

วิกฤติ เศรษฐกิจทุนนิยมตกต่ำ/ถดถอยในสหรัฐ และยุโรป ตั้งแต่ปี 2008 เป็นสิ่งที่มาร์กซ์วิเคราะห์ไว้ว่านี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจากตัวระบบทุน นิยมเอง นายทุนใหญ่ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยรวยขึ้น คนงานที่เป็นคนส่วนใหญ่ยากจนลงโดยเปรียบเทียบรัฐบาลตัวแทนระบบทุนใช้วิธีแก้ ปัญหาวิกฤติด้วยการใช้งบประมาณและการเพิ่มปริมาณเงิน (การก่อหนี้ของรัฐ) ไปช่วยพยุงนายทุนใหญ่บางกลุ่มให้สะสมและขยายการลงทุนต่อไปได้ แต่เป็นเพียงการช่วยระบบทุนนิยมที่ป่วยไข้ให้พอมีชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง เท่านั้น และรัฐบาลสร้างหนี้เพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น ระบบทุนนิยมทำให้ทุนธนาคาร, การเงินต้องการหากำไรจากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่การผลิตในภาคการผลิตแท้จริงมีปัญหาฟื้นตัวได้จำกัด การที่ภาครัฐบางประเทศที่มีปัญหาใช้นโยบายรัดเข็มขัด (Austerity) เพิ่มภาษี ลดการให้บริการสังคม ฯลฯ โดยคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ กระเตื้องขึ้น (ตามวัฏจักรทางธุรกิจ) กลายเป็นการเพิ่มการเอาเปรียบคนจนส่วนใหญ่ เพิ่มการตกงาน และสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้น

ระบบทุนนิยม อุตสาหกรรมที่เน้นการสะสมทุน ขยายการลงทุนอย่างไม่จำกัดยังทำลายธรรมชาติ ทำให้ประชาชนทุกข์ยาก แปลกแยก ความหลงใหลในวัตถุในเงินตราเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีทางแก้ไขภายใต้กรอบโครงสร้าง ทุนนิยมได้ นอกจากต้องเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติจากระบบทุนนิยมไปเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของผู้ควบคุมปัจจัยการผลิตแบบบริหารโดยสหกรณ์ หรือสมาคมคนงานที่ก้าวหน้ากว่า ทำให้สามารถเพิ่มพลังการผลิต (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี) ที่เป็นของส่วนรวม เพื่อส่วนรวมได้อย่างเป็นจริง มีผลผลิตมากพอและแบ่งปันอย่างเป็นธรรม ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกได้มากกว่าระบบทุนนิยมที่นอกจากคนงานจะทุกข์แล้วแม้แต่นายทุน และชนชั้นกลางก็มีความทุกข์ ความแปลกแยก เพราะพวกเขาก็ต้องอยู่ภายใต้สังคมที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงและสภาพแวดล้อม ที่เสื่อมโทรมลง

สังคมนิยมในทัศนะของมาร์กซ์ คือสังคมที่ชนชั้นคนงานร่วมกัน เป็นเจ้าของและผู้บริหารจัดการอย่างเป็นประชาธิปไตยในรูปของสมาคมผู้ผลิต อิสระและสหกรณ์ผู้ผลิต ระบบเศรษฐกิจสังคมแบบที่ว่านี้จะทำให้ความขัดแย้งและการกดขี่เอารัดเอา เปรียบของชนชั้นนายทุนต่อคนงานหมดไป นายทุนก็เข้าร่วมลงมาทำงานเป็นผู้ผลิตร่วมกันกับคนอื่นๆ และผู้ผลิตทุกคนต่างก็ได้รับผลแบ่งร่วมกันอย่างเป็นธรรม ไม่มีใครขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากใคร

การมีพลังการผลิตที่เป็น ของส่วนรวม โดยส่วนรวม เพื่อส่วนรวม ทำให้สังคมมั่งคั่ง เจริญก้าวหน้า สร้างสรรค์ แบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม พอเพียงและเป็นอิสระ, คนสามารถใช้เวลาทำงานลดลง, แปลกแยกลดลง, ใช้ชีวิตแบบสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ฟังดูเหมือนเป็นสังคมอุดมคติที่มาร์กซ์และชาวมาร์กซิสต์คนอื่นๆ ใฝ่ฝันถึงแบบโลกยูทูเบีย (พระศรีอาริย์) แต่เขาวิเคราะห์ตามหลักตรรก (เหตุผล) ที่สอดคล้องกัน คือ ถ้าปฏิวัติแบบสังคมนิยมได้จริง ก็จะทำให้เกิดผลทำนองนี้ได้จริง

แต่ถ้ามนุษย์เราไม่กล้าใฝ่ฝันถึงชีวิตและสังคมที่ดีกว่า เราจะมีอนาคตที่ดีกว่าสัตว์โลกชนิดอื่นได้อย่างไร?

– See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634278#sthash.oCfvbEot.dpuf

John Locke

อ้างอิงจากสารานุกรม wikipedia

New opinions are always suspected, and usually opposed, without any other reason but because they are not already common. John Locke
ความคิดใหม่มักเป็นที่สงสัย  และถูกคัดค้านอยู่เสมอ  โดยไม่มีเหตุผลอื่นใด  เนื่องจากเพราะว่ามันยังไม่ใช่ความคิดที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ”

จอห์น ล็อค ผู้เป็นเจ้าของผลงานหนังสือสำคัญอันเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน หลักไมล์ของยุคแสงสว่างแห่งปัญญา (Enligtenment) ในยุโรป  เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการปกครอง Two Treatises on Govemment (1689) แนวคิดหลักของหนังสือ คือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

ล็อคเสนอว่าแม้รัฐบาลจะได้สิทธิอำนาจ (Authority) มาจากความเห็นชอบของประชาชน  แต่ประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่ทำลายสิทธิพื้นฐานของพวกเขา ได้   และในปี 1690  เขาได้เขียนบทเรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจของมนุษย์ (An Essay Concerning Human Understanding) ที่เป็นแนวคิดทางปรัชญาแบบประจักษ์นิยม โดยเขาเสนอว่า ***ประสบการณ์เป็นแหล่งที่มาของความรู้  และมนุษย์เราไม่สามารถมีความรู้ไกลเกินไปกว่าความคิดของเราที่ได้มาจาก ประสบการณ์ ***

สรุปแนวคิดทางการเมืองของ จอห์น ล็อค คือ ประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัด ตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของ ประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น รัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงในกิจการของปัจเจกชน นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้นั้น แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส

อห์น ล็อค เกิดวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.1632  ในครอบครัวเพียวริแตน (Puritans) ที่หมู่บ้าน Wrington เขตซัมเมอร์เซสท์  ประเทศอังกฤษ  ในช่วงระหว่าง สงครามกลางเมืองในสมัยครอมเวลล์  บิดาเป็นทหารยศร้อยเอกของกองกำลังฝ่ายรัฐสภาที่กำลังต่อสู่อยู่กับฝ่าย รัฐบาลของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 และเมื่อล็อคอายุ 15 ปี ในปี 1647 เขาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนเวสมินสเตอร์ (Westminster) ที่ลอนดอน  ซึ่งได้ศึกษาในวิชาคลาสสิค (Classics) และวิชาวิทยาศาตร์

เมื่ออายุ 20 ปี เขาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Christ Church Oxford ในปี ค.ศ.1652  ซึ่งล็อคไม่สู้จะพอใจในระบบการศึกษา  ที่อ๊อกฟอร์ดเท่าใดนัก  แต่เขากลับสนใจในแนวคิดและงานเขียนของ เรเน่ เดส์คารต์ส (Rene Descartes) มากกว่า  แต่กระนั้นล็อคก็เรียนเล่าเรียนจนระดับปริญญาตรี ในปี 1655  และล็อคยังจบปริญญาในทางแพทย์ (bachelor of medicine) ในปี 1675 อีกด้วย  ต่อมาเขาได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมราชบัณฑิตแห่งลอนดอน (The Royal Society of London) ซึ่งทำให้ล็อกมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายๆคน เช่น โรเบิร์ต บอยล์, โทมัส วิลลิส, และโรเบิร์ต ฮุค เป็นต้น นอกจากนี้..ล็อคยังได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์สอนวิชากรีกวิทยาที่ไครสต์ เชิชด้วย

เมื่ออังกฤษได้กลับสู้ระบอบกษัตริย์ (King Charles II : 1630-1685) อีกครั้ง  ล็อคก็มีโอกาสก็ได้รู้จักกับ ลอร์ด แอชลี่ (Lord Ashley) ที่ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งชาร์ฟส์เบอรี่ (Earl of Shaftesbury) ซึ่งล็อกได้กลายเป็นทั้งเพื่อนสนิทและแพทย์ประจำตัวของลอร์ด แอชลี่  แต่ต่อมา ลอร์ด แอชลี่มีความขัดแย้งกับกษัตริย์ ในเรื่องนโยบาบผ่อนปรนข้อขัดแย้งทาง ศาสนา  เป็นผลให้ลอร์ด แอชลี่ถูกจับคุมขังหลายครั้งในข้อหาคบคิดกบฏ  จนต้องหลบหนีไปจากอังกฤษ  และก่อให้เกิดผลร้ายกับล็อคที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับลอร์ด แอชลี่

ล็อค ถูกราชสำนักเพ่งเล็งและสงสัยว่าเป็นผู้สมคบคิดกบฏด้วย  จนทำให้เขาถูกไล่ออกจากไครสต์ เชิชและอ็อกฟอร์ด  และต้องลี้ภัยไปอยู่ฮอลแลนด์นานถึง 6 ปี  ในช่วงเวลานี้เองที่ล็อคได้เขียน  หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องการปกครอง Two Treatises on Govemment (1689)  และในปี 1690  เขาได้เขียนบทเรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจของมนุษย์ (An Essay Concerning Human Understanding

 

Bristol Pound

From Wikipedia

The Bristol Pound (£B) is a form of local complementary currency, or community currency launched in Bristol, UK on 19 September 2012.[1] Its objective is to encourage people to spend their money with local, independent businesses in Bristol and the former County of Avon.[2] As of September 2012 it is the largest alternative in the UK to official sterling currency, though it is backed by Sterling.

Background

The Bristol Pound is a local and community currency that was created to improve Bristol’s local economy.[3] Its primary aim is to support independent traders in order to maintain diversity in business around the city.[4] The scheme is a joint not-for-profit enterprise between Bristol Pound Community Interest Company and Bristol Credit Union.[5]

Previous to the Bristol Pound, local currencies were launched in the UK in Totnes (2006),[6] Lewes (2008), Brixton (2009)[7] and Stroud (2010).[4]

The Local Multiplier Effect

If a person spends Bristol Pounds at a local shop, the owner of this shop can respend them by using them to buy supplies from another local business, pay local taxes (Business Rates or Council Tax) to Bristol City Council. The business can for instance use their Bristol Pounds to pay a farmer in the Avon area for fresh fruit and vegetables. This farmer can pay a local architect, which accepts Bristol Pounds, to renovate a part of his farm, and so on. In this way money keeps on circulating locally to benefit local independent businesses in the area; this is called the Local multiplier effect.[8] If the person had spent Sterling Pounds at a supermarket chain instead, for example, more than 80% of their money would have left the area almost immediately.[9] Use of a local currency thus increases cash flow between independent businesses and stimulates local employment and sustainable local economic development.[10]

Using a local currency not only stimulates the local economy, but also creates stronger bonds within the community by increasing social capital.[11] Moreover, buying locally decreases emissions through reduced transportation externalities. Generally, internal trade through the use of complementary currencies is a resilience strategy, which reduces the impact of national economic crises and dependency on international trade (e.g. fossil fuels, food, etc.) by enhancing self-sufficiency. Finally, the use of a local currency increases the awareness of the impact of one’s economic activity.[9]

Bristol Pound contributed to Bristol being awarded the title of European Green Capital 2015.[12]

Usage

Bristol is the first city in the UK in which taxes and business rates can be paid in Bristol Pounds[5] Bristol Pound account holders can convert £Bs to and from pounds sterling and backed 1-1 by pound sterling.[13] Bristol City Council, and other organisations in the city, offer their employees part their salaries in Bristol Pounds. The former Mayor of Bristol, George Ferguson, accepted his entire salary (£51,000) in Bristol Pounds.[14]

Since June 2015 energy bills can be paid in Bristol Pounds to the 100% renewable energy provider, Good Energy. Its CEO claimed it is a world first for paying energy bills using a local currency.[15]

In June 2015, according to the Bristol Pound CEO some £1million had been issued in £Bs, with more than £B700,000 still in circulation.[9] More than 800 businesses accept Bristol Pounds and more than a thousand users have a Bristol Pound account.

Organisations involved

The Bristol Pound is managed by the non-profit Bristol Pound Community Interest Company in collaboration with the local financial institution, the Bristol Credit Union. The Bristol Credit Union ensures that every physical £1 converted to a printed £B1 is backed in a secure trust fund. The scheme is supported by Bristol City Council.[16]

Bristol Pound is part of a larger international movement of local currencies. The European funded Community Currencies in Action partnership provides support for communities which want to develop their new currency and works on innovations.[17] Within the UK, Bristol Pound CIC founded and maintains the Guild of Independent Currencies – a platform for sharing experiences about local currencies. In this framework, Bristol CIC is currently working with Exeter, amongst others, helping it to launch its own local currency; the Exeter Pound.[9]

Using the Bristol Pound

The Bristol Pounds can be used in both paper and electronic format, like conventional money. One Bristol Pound is equivalent to one Sterling Pound. Some businesses apply discounts for customers paying in Bristol Pounds.[18] Local taxes and electricity bills can be paid with Bristol Pounds online.

Paper Bristol Pounds

Paper £Bs can be used by anyone, have been designed by Bristolians, and carry many high security features to prevent fraud.[10] In June 2015 new paper £Bs were issued. These can be exchanged at a 1-1 rate for sterling (f£1 for £B1) at seventeen different cash points throughout the city, or ordered online (Bristol Pound Website).

Electronic payments

The Bristol Pound was the second local scheme (after the Brixton Pound) to be able to accept electronic payments in the UK.[3] This allows, for example, participating small businesses to accept payments by SMS, without needing to pay for and install a credit card machine.[19] The businesses are charged 2% of the sum for payments made by SMS, a similar or sometimes reduced rate than credit or debit card charges, or PayPal (3%). Payments can also be made online, with the recipient of each payment charged at a rate of 1%, capped at 95p per transaction.

Legality

Every paper £B is backed up by a pound sterling deposited at Bristol Credit Union.[16] The Bristol Pound is not legal tender, and participation is therefore voluntary.[5][20] The directors of the scheme cannot prevent national and multinational companies accepting paper £Bs, but can decide, based on the Rules of Membership, whether a business is permitted to open a Bristol Pound account and trade electronically.[21]

Bristol Pounds can only be exchanged back into pounds sterling via an electronic Bristol Pound account. There is no fee for doing this.[22] Paper Bristol Pounds cannot be directly exchanged back to sterling unless deposited into an electronic account and then converted back from there. Technically, the notes are vouchers and the first issue of the paper Bristol Pounds also have an expiry date (30 September 2015). The Bank of England acknowledges the existence and role of local currencies.[23]

Additionally, the Treaty of Lisbon specifies that “The banknotes issued by the European Central Bank and the national central banks shall be the only such notes to have the status of legal tender within the Union.[24]

จับสัญญาณฟื้น”พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย”

โดย “เซี่ยงเส้าหลง” และทีมข่าวการเมือง

·· จริง ๆ แล้วขณะนี้ พรรคการเมืองทางเลือก กำลังเริ่มต้นก่อตัวขึ้นหลากทางหลายที่มา “เซี่ยงเส้าหลง” ได้ยินมาว่านอกจาก พรรคมหาชน และ พรรคทางเลือกที่สาม – The Third Alternative Party (ที่ยึดแนวทาง ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์) แล้วยังมี การเคลื่อนไหว ของ ผู้ปฏิบัติงานมวลชน-งานการเมือง ที่มีฐานการทำงานอยู่ใน ภาคอีสาน ก่อตัวขึ้นมา 2 – 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำงานทางด้าน สหกรณ์การเกษตร ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคประชาชนไทย อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจมากก็คือสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ริเริ่มเรียกร้องให้มีการจัดประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 ขึ้นมาเพื่อ ปรับองค์กร, ปรับบุคลากร และ กำหนดยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งถ้า สำเร็จ ในระยะเวลาจากนี้ไปไม่นานเราอาจได้เห็น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในสถานการณ์ใหม่ ที่ล้มเลิกยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีเดิม ยึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลังอาวุธโดยหนทางชนบทล้อมเมือง มาเป็นยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีใหม่ที่รวม การสมัครรับเลือกตั้งในระบบรัฐสภา ด้วยก็เป็นได้

·· หากไม่ติดยึดแต่ กรอบกฎหมาย ของ พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับต่าง ๆ, รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆแล้วก็ต้องยอมรับว่าพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยก็คือ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2485 นับจนถึงวันนี้เกือบ ๆ จะ 62 ปีเต็ม แล้ว

·· ถือว่าเก่าแก่กว่า พรรคประชาธิปัตย์ ที่ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2489 อยู่ถึง 4 ปี ทีเดียว

·· ฐานภาพของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้แม้จะไม่ถือว่าเป็น พรรคการเมืองตามกฎหมาย เพราะไม่ได้ จดทะเบียน แต่ถือได้ว่าเป็น พรรคการเมืองในทางปฏิบัติ ที่มี อุดมการณ์ชัดเจน คือดำเนินตาม ลัทธิมาร์กซ์, ลัทธิเลนิน และ ความคิดเหมาเจ๋อตง ที่สำคัญคือนับแต่ ปี 2543 เป็นต้นมาที่มีการยกเลิก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ฐานภาพการรวมตัวกันในลักษณะนี้ ไม่ผิดกฎหมาย อันที่จริงในอดีตสมัย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวช่วงสั้น ๆ เพื่อเอาใจ สหภาพโซเวียต หนึ่งใน แกนนำ ของ สหประชาชาติ ก็ได้ทำให้ สภาผู้แทนราษฎร ของเราในสมัยนั้นมีสมาชิกที่ สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มาแล้ว 1 คน คือ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร จาก สุราษฎร์ธานี เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกหากในอนาคตจะมี ส.ส.พรรคคอมมิวนิสต์ ขึ้นมาสัก จำนวนหนึ่ง ขณะนี้แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่ผู้คนตั้งแต่ระดับปัญญาชนลงไปจนถึงระดับรากหญ้าจำนวนไม่น้อยที่ยัง คิดถึง การรื้อฟื้น พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ขึ้นมาให้เป็น ทางเลือกใหม่ของสังคมไทย ในอนาคตอันใกล้นี้

·· ฐานภาพของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้มี ธง แจ่มศรี (ในชั้นต้นใช้นาม ประชา ธัญญไพบูลย์) ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรค ล่าสุดก็อย่างที่ “เซี่ยงเส้าหลง” เคยแจ้งให้ทราบแล้วว่า ผู้เฒ่าวัย 83 ที่เคยอยู่อย่าง ปิด เริ่ม เปิด ชนิดน่าจับตาตั้งแต่มาร่วมงาน เพลงปฏิวัติ กระทั่งล่าสุดให้สัมภาษณ์พิเศษนิตยสารรายเดือน สารคดี ยาวเหยียด

·· อันที่จริงก่อนหน้านี้ตั้งแต่ ปี 2522 ที่เลขาธิการพรรคคนก่อนหน้าคือ เจริญ วรรณงาม (ในนาม มิตร สมานันท์) มีอันต้อง ถึงแก่กรรม ก็เป็น ธง แจ่มศรี ที่ รักษาการเลขาธิการพรรค แต่มาได้เป็น เลขาธิการพรรค ก็ต่อเมื่อ ปี 2525 นี่เอง

·· การหายหน้าหายตาไปของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มองในมุมหนึ่งเป็นเพราะ แพ้ทางการเมือง ต่อ แนวทางการเมืองนำการทหาร ที่รัฐบาลไทยนำมาใช้ตั้งแต่ยุคสมัย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่ประมาณ ปี 2522 – 2523 แต่มองจากอีกมุมหนึ่งแล้วเกิดจาก ความขัดแย้งภายในพรรค ที่สะท้อนมาจาก ความขัดแย้งในขบวนคอมมิวนิสต์สากล จุดระเบิดเกิดขึ้นในการประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 4 เมื่อ ปี 2525 ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ตั้งแต่ขั้นตอน วิเคราะห์สังคมไทย ว่ามีสภาพตัวจริงเป็นอย่างไรกันแน่ระหว่างบทวิเคราะห์เดิม ๆ ที่ท่องกันมาเป็น สูตรสำเร็จ ว่าสังคมไทยคือ กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาฯ กับแนววิเคราะห์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นว่าสังคมไทยคือ ทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้นฯ (ที่มี ต่อท้ายด้วยก็เพราะประโยคเต็ม ๆ ของทั้ง 2 บทวิเคราะห์คือ กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา – ที่ปัจจัยทุนนิยมเพิ่มมากขึ้น กับ ทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้น – ที่ศักดินาดำรงอยู่) เสียงโหวตขณะนั้นแพ้ชนะกัน ก้ำกึ่ง แต่ศูนย์กลางการนำของพรรคโอนเอนไปทาง กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาฯ ซึ่งเป็นแนวทางการวิเคราะห์ที่ประยุกต์มาจาก จีน ที่เคยวิเคราะห์ สังคมจีนยุคก่อนการปฏิวัติ และผู้นำรุ่นแรก ๆ ของพรรคก็มาจาก พคจ. – พรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็น ลูกจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิรัช อังคถาวร หรือ สหายธาร หรือชื่อจีนว่า จางหย่วน ที่กุมการนำในพรรคมาก่อนหน้า ปี 2525 พรรคแก้ปัญหาด้วยการให้คนกลางที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายอย่าง ธง แจ่มศรี ขึ้นมาเป็น เลขาธิการพรรค จากนั้นบทบาทของ วิรัช อังคถาวร ก็ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเขาเดินทางจากประเทศไทยไป รักษาอาการป่วย ที่ จีน ตั้งแต่ ปี 2526 และพำนักอยู่ยาวนานจน ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2540 นี่เอง

·· สมาชิกพรรคที่มีบทบาทสนับสนุนแนวทางวิเคราะห์สังคมไทยใหม่เป็น ทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้นฯ มาจาก ภาคอีสาน แกนนำสำคัญคือ ลุงสม – อุดม ศรีสุวรรณ กับ ลุงปรีดา – วินัย เพิ่มพูนทรัพย์ โดยมีพันธมิตรเป็น คนรุ่น 14 ตุลา ที่เป็น นายแพทย์คนหนึ่ง มีบทบาทอยู่ใน องค์กรประชาธิปไตย มาตั้งแต่ ปี 2535 จนกระทั่งปัจจุบัน

·· ปัจจุบัน ธง แจ่มศรี สามัคคีกับ กลุ่มภาคอีสาน ที่มี พลังนำทางปัญญา ในปัจจุบันอยู่ที่ ลุงปรีดา – วินัย เพิ่มพูนทรัพย์ ทำให้สามารถสร้างเอกภาพได้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่ของภาคอีสาน แต่ยังไม่สามารถเจาะฐาน กทม., ภาคเหนือ ที่ยังคงยึดถือการนำเดิมของ วิรัช อังคถาวร ได้

·· เพราะแม้ วิรัช อังคถาวร จะ ออกจากประเทศไทย ไปหลายปีจนกระทั่งถึงแก่กรรมไปแล้วแต่ ภรรยา คือ ป้าพึ่ง – สมพร อังคถาวร ยังคงอยู่ในประเทศไทยและ เคลื่อนไหวไม่ขาดสาย โดยมีพันธมิตรเป็น คนรุ่น 14 ตุลาคู่หนึ่ง ที่ถือว่าเป็น ปัญญาชนที่มีความสามารถสูง ฝ่ายชายเคยเข้าไปมีบทบาทใน องค์กรอิสระ และมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ฝ่ายหญิงเป็น อาจารย์สถาบันการศึกษาเอกชน ช่วงปีที่ผ่านมาเกิด ข่าวลือ ในวงการภายในทำนองว่าฝ่ายชายกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็น เลขาธิการพรรค เชื่อว่าน่าจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ ธง แจ่มศรี ต้อง เริ่มเปิดตัว ล่าสุดก็เป็นสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานในเครือข่ายของ ป้าพึ่ง – สมพร อังคถาวร นี่แหละที่เรียกร้องให้เปิดประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 ขึ้นมา

·· ไม่ใช่เพียงเครือข่ายสายของ ป้าพึ่ง – สมพร อังคถาวร (เห็นการเคลื่อนไหวชัดเจนที่ ชุมพร และที่ น่าน) เท่านั้นที่เรียกร้องให้เปิดประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 ยังมี สายอีสานบางส่วน ที่ต้องการ ความชัดเจน จาก ผู้นำรุ่นอาวุโส อีกด้วยว่าจะมีท่าทีอย่างไร

·· อันที่จริง ธง แจ่มศรี ในวัย 83 ปี ก็มีท่าทีว่าจะ หยุดการเคลื่อนไหว, ถอดหัวโขน แต่อยู่ระหว่างหาหนทางดีที่สุดใน การส่งมอบอำนาจ แต่ติดปัญหาที่พันธมิตรสำคัญที่เป็น นายแพทย์ คนนั้นโดยรวมแล้ว ไม่ได้รับการยอมรับ เล่ากันว่าลึก ๆ แล้วแม้แต่ ลุงปรีดา – วินัย เพิ่มพูนทรัพย์ ก็ ไม่ยอมรับ แต่จะด้วยปัญหาใดนั้น “เซี่ยงเส้าหลง” เป็น คนนอก ยากจะรู้ได้

·· จากการให้สัมภาษณ์ของ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ต่อ เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่กำลังวางแผงอยู่นี้มีข้อมูลน่าสนใจว่าเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2547 ใน กทม. มีการชุมนุมสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถึง กว่า 200 คน ในงาน ขึ้นบ้านใหม่ผู้อาวุโสท่านหนึ่ง ส่วนใหญ่ต้องการให้เปิดประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 และแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปก็คือ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในอนาคตไม่ว่าจะใน ชื่อเดิม หรือ ชื่อใหม่ น่าจะเป็น พรรคเปิด, พรรคบนดิน ไม่ใช่ พรรคปิด, พรรคใต้ดิน และมีโอกาสจะเป็น พรรคทางเลือก ได้อีกพรรคหนึ่ง

·· แต่ก่อนจะมี สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 ขณะนี้สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานส่วนหนึ่งใน ภาคอีสาน ก็เคลื่อนไหวในนามที่รู้จักกันว่า พรรคปลดหนี้ และเริ่มเข้าไปเป็น ฐานกำลัง ให้กับ พรรคมหาชน ที่เชื่อกันว่าจะ ชิงที่นั่งในภาคอีสาน ได้ หลายที่ เหมือนกัน

·· อันที่จริง พรรคมหาชน นี่ก็ แปลก ส่วนหัวเป็นการผสมผสานระหว่าง เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, วัฒนา อัศวเหม, นพดล ธรรมวัฒนะ และ ฯลฯ ที่ดูภายนอกแล้ว ชื่อเสียงไม่ดี แต่ในส่วนของ ผู้ปฏิบัติงานมวลชน กลับมีจำนวนหนึ่งที่มาจากเครือข่ายของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และแม้แต่แนวนโยบาย รัฐสวัสดิการก้าวหน้า ก็เป็นการประยุกต์แนวทาง สังคมนิยม ที่ร่วมคิดร่วมเสนอแนะโดย ปัญญาชนที่มีความสามารถสูง พันธมิตรหลักของ ป้าพึ่ง – สมพร อังคถาวร หรือแม้แต่คนที่มีภาพ เจ้าพ่อ อย่าง วัฒนา อัศวเหม คนทำงานพื้นฐานให้เขาส่วนสำคัญส่วนหนึ่งก็มาจากสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานเก่าของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เรื่องนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ได้ยินมาว่าแม้แต่ นักทฤษฎีคนสำคัญในอดีต เจ้าของนาม ชาญ กรัสนัยปุระ ก็อยู่ในเครือข่ายนี้โดยทำหน้าที่ ดูแลธุรกิจ ในเขตเมือง คุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้

·· แท้จริงแล้ววัฒนา อัศวเหม สมัครสมานสามัคคีมานานกับ สังข์ พัธโนทัย (บิดาของ ดร.มั่น พัธโนทัย) ผู้เป็น มิตรสนิท ของ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในยุคเริ่มต้นก่อตั้งระบอบใหม่

·· ถ้ามีการเปิดประชุม สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 ขึ้นมาก่อนจะไปถึงเรื่อง กรรมการชุดใหม่, เลขาธิการคนใหม่, ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีชุดใหม่ ที่น่าจับตาเป็นปฐมคือ การวิเคราะห์สังคมไทย ที่ค้างคามาแต่ ปี 2525 ที่ยังตกลงกันไม่เป็นเอกฉันท์ว่ายังคงเป็น กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา – ที่ปัจจัยทุนนิยมเพิ่มมากขึ้น หรือพัฒนาขึ้นมาเป็น ทุนนิยมกึ่งเมืองขึ้น – ที่ศักดินาดำรงอยู่ จนถึง ปี 2547 ที่มี ทักษิโณมิค แล้วจะ ลงเอย อย่างไร

·· อาจจะมองเห็นว่า ไร้ความหมาย สำหรับการเคลื่อนไหวฟื้นตัวของ พคท. – พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เรื่องนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ยอมรับว่า จริง หากพิจารณาเฉพาะ สถานการณ์ปัจจุบัน ที่ยังคงอยู่ใน กระแสสูง ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ พรรคไทยรักไทย แต่หากมอง ระยะยาว ไปถึง ยุคหลังทักษิณ-ไทยรักไทย ที่อาจจะเป็น 4 ปีข้างหน้า หรือ 2 – 3 ปีข้างหน้า หรือ ระยะยาวกว่า ไปถึง ยุควิกฤตสังคมไทย ที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะ การเปลี่ยนแปลงบางประการในช่วง 10 ปีขึ้นไป ก็ต้องถือว่านี่เป็น ฐานกำลังที่น่าพิจารณาและ สมัชชาพรรคครั้งที่ 5 จะเป็น จุดเริ่มต้น ของบางสิ่งบางอย่าง

คนจน กับ ทางออกของสังคมไทย

โดย นิธิ เอียวศรีวงค์

วิธีคิดของทุนนิยมเสรีทำให้เรามักมองความยากจนจากแง่ของปัจเจกบุคคล คือมีคนจำนวนหนึ่งยากจน นั่นก็คือมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่รัฐต่างๆ กำหนดขึ้น และอาจนำไปสู่ข้อสรุปว่า ในสังคมไหนๆ ก็มี คนรวยคนจนเป็นธรรมดา

แต่ความยากจนที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งโลกในเวลานี้ไม่อาจเข้าใจได้จากมุมมองของปัจเจกบุคคล เพราะ ความยากจนของโลกปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากนโยบายพัฒนา ซึ่งมหาอำนาจใช้องค์กรด้านการเงินและ การค้าระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือผลักดัน

ความยากจนในแง่นี้หมายถึงความไร้สมรรถภาพของผู้คนที่จะเข้าถึงทรัพยากรอันจำเป็นในการดำรงชีวิต เพราะตัวนโยบายพัฒนาได้แย่งเอาทรัพยากรที่เขาใช้อยู่ไปให้คนอื่นใช้ เช่นเอาแหล่งจับปลาไปทำเขื่อน ไฟฟ้า หรือทำลายทรัพยากรชายฝั่งเพื่อสังเวยนายทุนเลี้ยงกุ้งหรือนายทุนเรือปลากะตัก เป็นต้น

ในที่สุดคนเหล่านี้ก็พึ่งตนเองไม่ได้ และไร้อำนาจทั้งในตลาดและในการเมือง

อย่านึกว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนระดับล่างเท่านั้น คนชั้นกลางอาจเป็นกลุ่มแรกๆ ที่สะสมทรัพ ยากรใหม่ให้ตนเองได้สำเร็จ คือการศึกษา จึงทำให้ได้รับผลกำไรจากนโยบายพัฒนาในสัดส่วนที่สูง

แต่ในปัจจุบัน ประตูสู่การศึกษากำลังมีราคาแพงมากขึ้น และการศึกษาในระดับที่คนชั้นกลางทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ก็กำลังมีมูลค่าเพิ่มน้อยลงทุกที ปริญญานอกกลายเป็นความจำเป็นมากขึ้น แม้กระทั่งมหา วิทยาลัยของรัฐบางแห่งหันไปร่วมมือผลิตปริญญาตรีกับต่างประเทศ โดยยอมเป็นเหมือน Junior Collage ให้มหาวิทยาลัยอเมริกัน

ความสามารถในการพึ่งตนเองได้ทางการศึกษาของไทยซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ยิ่งลดน้อยถอยลง ในขณะเดียว กัน การศึกษาในฐานะทรัพยากรของคนชั้นกลางก็กำลังกลายเป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่ได้มากขึ้น นั่นก็คือ ความยากจนตามความหมายดังที่กล่าวข้างต้นกำลังกลายเป็นสมบัติของคนชั้นกลางจำนวนมากขึ้น แม้ว่า รายได้ที่เป็นตัวเงินอาจไม่ได้ลดลงก็ตาม

กล่าวโดยสรุป ความยากจนที่ปรากฏในสังคมไทยและทั่วโลกเวลานี้ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ใช่ ปัญหาของปัจเจก

และเมื่อวิเคราะห์ความยากจนเชิงโครงสร้างแล้ว ก็พบว่ามีที่มาจากหลายทางด้วยกัน นับตั้งแต่ในทาง วัฒนธรรมไทยปัจจุบันซึ่งสอนให้รังเกียจคนจน (เพราะเมื่อมองคนจนในเชิงปัจเจก ก็จะเห็นแต่ความบก พร่องของเขา) และด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่พร้อมจะให้สิทธิเสมอภาคแก่คนจน เช่นไม่ยอมรับอำนาจที่เท่า เทียมกันในทางสติปัญญา ในเชิงเทคโนโลยี ในเชิงการต่อรองในตลาด และในทางการเมือง (ปิดถนนเลว ร้ายแต่การวอล์กเอาต์หรือไม่ยอมเปิดเผยสัญญาเป็นหน้าที่และความชอบธรรม)

นโยบายพัฒนาที่มุ่งแต่จะสร้างความมั่งคั่งให้แก่คนจำนวนน้อย โดยการที่รัฐแย่งชิงเอาทรัพยากรจากคน ส่วนใหญ่ไปบำเรอผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยตลอดเวลา ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญของความยากจนในเมือง ไทย ยิ่งคนจนไร้อำนาจก็ยิ่งทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายพัฒนาได้เลย ดังเช่นทีมผู้ยกตัวอย่าง จากการศึกษามูลค่าน้ำในเขื่อนที่สร้างอ่างเก็บน้ำบางแห่งว่า น้ำหนึ่งลูกบาศก์เมตรจะมีราคาต้นทุนตั้งแต่ 40-20 กว่าบาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาไปใช้ในการผลิตอะไรให้กำไร

แต่ที่สามารถทำได้ก็เพราะผลักภาระต้นทุนส่วนใหญ่ไปให้ประชาชนโดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยต่าง หาก

กระแสบริโภคนิยมที่ครอบงำสังคมอย่างกว้างขวาง ก็มีส่วนทำให้ทรัพยากรร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว และ ทรัพยากรของคนอ่อนแอถูกแย่งเอาไปอย่างชอบธรรม ในขณะเดียวกันก็ทำให้ “ประชาสังคม” ของคนชั้น กลางซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ฟูมฟายมีส่วนทำร้ายคนจนอยู่ไม่น้อย จนไม่อาจเป็นที่หวังได้ว่า ประชาสังคมที่เข้ม แข็งเพียงอย่างเดียวจะแก้ปัญหาความยากจนได้

ความเฉยเมยของสื่อต่อชะตากรรมของคนจนดูจะเป็นตัวอย่างอันดีของ “ประชาสังคมเข้มแข็ง” แม้ว่าสื่อจะ พัฒนาไปมากในทุกทาง รวมทั้งการมีหลักประกันของเสรีภาพที่มั่นคงขึ้น แต่สื่อก็ยิ่งละเลยที่จะรายงาน ความเป็นไปในภาคประชาชนมากขึ้น

ความยากจนมีมูลเหตุมาจากการตัดสินใจ โดยเฉพาะการตัดสินใจที่กระทบถึงการจัดการทรัพยากร ใน ขณะที่คนจนไร้อำนาจที่จะเข้าไปร่วมในการตัดสินใจ ฉะนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความยากจนเป็นผลผลิต ของการเมือง ตราบเท่าที่คนจนยังไร้อำนาจก็เป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดความยากจนไปจากประเทศไทย

นโยบายโอนอ่อนต่อแรงกดดันของมหาอำนาจโลกาภิวัตน์ ยิ่งทำให้ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิตถูก ดึงเข้าไปสู่ตลาดมากขึ้น เช่นเงื่อนไขเงินกู้ ADB ที่กำหนดให้เก็บค่าน้ำแก่เกษตรกรผู้ใช้น้ำ ทำให้น้ำเป็น สินค้าซึ่งอาจมีนายทุนมาลงทุน “พัฒนา” ลุ่มน้ำทั้งลุ่มน้ำเพื่อทำกำไรได้ในอนาคต

ทั้งนี้ไม่ต่างจากการนำเอาที่ดินเข้าสู่ตลาดเต็มที่ ซึ่งดำเนินมาก่อนหน้านี้นานแล้ว และเป็นผลให้ที่ดินหลุด จากมือเกษตรกรไปเป็นอันมาก ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญญาณว่าคนจนจะเข้าไปถึงแม้แต่ทรัพยากรระดับพื้น ฐานในการดำรงชีวิต

ทางออกของสังคมไทยจากความอยากจนนั้นมีหลายประเด็นด้วยกัน แต่ประเด็นหนึ่งที่เห็นพ้อง ต้องกันหลายฝ่ายคือความรู้

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความเพียงการกระจายโอกาสการศึกษาให้ทั่วถึงเท่านั้น แต่มีการชี้ให้เห็นว่า แท้ที่จริง แล้วส่วนหนึ่งของอำนาจที่ใช้ในการแย่งชิงทรัพยากรจากผู้คนจนเขากลายเป็นคนจนนั้น คือการสร้าง ความรู้ด้วยการบิดเบือน ดังเช่นกรณีผลกระทบทางเศรษฐกิจของเขื่อนปากมูลนี้ ก็มีสถาบันวิจัยมีชื่อแห่ง หนึ่งออกมารับรองว่า เขื่อนปากมูลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นดีขึ้น

ทั้งนี้สถาบันวิจัยดังกล่าวอาศัยข้อมูล จปฐ. ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าจำกัดมาก และการสำรวจในช่วงเวลาที่ ชาวบ้านบางกลุ่มเพิ่งได้รับเงินค่าชดเชยไป อาศัยการนับทรัพย์สมบัติที่จับต้องได้ เช่นมอเตอร์ไซค์, ตุ่ม น้ำ ฯลฯ เพื่อวัดคุณภาพชีวิตของผู้คนโดยไม่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงในชีวิต ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งหายไปพร้อมกับแหล่งประมงขนาดใหญ่ของปากมูล

ความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้แหละ ที่ทำให้การแย่งชิงทรัพยากรจากประชาชนกลายเป็นการพัฒนา ความ หายนะของผู้คน กลายเป็นคุณภาพชีวิต การประท้วงต่อต้านของประชาชนกลายเป็นความวุ่นวายและความ เห็นแก่ตัว รายงาน FJA กลายเป็นเครื่องประดับที่ต้องทำขึ้นตามกฎหมายเท่านั้น ฯลฯ

ฉะนั้นจึงต้องสร้างความรู้ที่ถูกต้องและเป็นจริงขึ้นถ่วงดุลกับความรู้บิดเบือนเหล่านั้น จะต้องมี การสร้างเครือข่ายของนักวิชาการและชาวบ้านและสื่อเพื่อสร้างและขยายความรู้ที่ถูกต้องเหล่านี้แก่ สังคมในวงกว้าง

ชาวบ้านจะรอแต่สื่อหลักซึ่งถูกผลประโยชน์ทางธุรกิจชี้นำอย่างหนักเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ คนจนและพันธ มิตรต้องคิดถึงการสร้างสื่อทางเลือกให้มากขึ้น นับตั้งแต่การรื้อฟื้นสื่อพื้นบ้านซึ่งชาวบ้านมีความรอบรู้อยู่ แล้ว ไปจนถึงการใช้สื่ออย่างใหม่ที่รัฐและธุรกิจคุมได้ยาก เช่นอินเตอร์เน็ตหรือเทปใต้ดิน เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ทางการเมือง คือการขยายพันธมิตรทั้งทางแนวนอน คือสร้างเครือข่ายให้กว้างขวางในหมู่ชาว บ้านทั่วประเทศ และองค์กรประชาชนจากชนชั้นอื่น และทางแนวตั้งเพื่อจะทำให้เกิดความเข้าใจและการ หนุนช่วยจากคนในสังคมให้กว้างขวางขึ้น

ทุกครั้งที่รัฐสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ทางด่วน ถนน นิคมอุตสาหกรรม โรงเผาขยะ ฯลฯ รัฐมักอ้างว่าประชาชนในท้องถิ่นควรเสียสละเพื่อชาติ

แต่ชาติคือใคร ถ้าไม่ใช่คนเล็กคนน้อยในท้องถิ่นซึ่งถูกเบียดขับให้พลัดที่นา คาที่อยู่ หรือสังเวยชีวิตปกติ สุขของตัวไปให้แก่การเบนทรัพยากรให้แก่คนจำนวนน้อยได้ใช้ เมื่อรวมคนเหล่านี้ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตั้งแต่ ในป่า ในท้องนา ไปจนถึงกลางกรุงเทพฯแล้ว

นี่คือคนส่วนใหญ่และนี่คือชาติ

ที่ผ่านมา เราถูกทำให้คิดว่าคนคือจุดสะดุดหรือส่วนปลีกย่อยของชาติ ความคิดเช่นนี้เป็นอุปสรรคที่จะเข้า ใจและสร้างนโยบายอันเอื้อต่อคนจนได้

ตรงกันข้าม เราควรเข้าใจว่า แท้จริงแล้วคนจนนั่นแหละคือชาติ การขจัดความยากจนคือการขจัดศัตรูที่ แท้จริงของชาติ และมีความสำคัญกว่าการสร้างความมั่งคั่งของชาติ

ซึ่งจะกระจุกตัวอยู่กับคนจำนวนน้อยเท่านั้น (จากการสัมมนา “คนจนกับทางออกของสังคมไทย” ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและเครือข่ายแม่น้ำเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับสมัชชาคนจน ที่หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1 ระหว่าง 20-21 เมษายน 2543)