สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ผู้เรียบเรียง สุเทพ เอี่ยมคง

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง

สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันตินั้น นอกจากจะมีกฎหมายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการจัดระเบียบแล้ว ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ยังเป็นแนวทางที่ใช้ยึดโยงให้สังคมมีความมั่นคงเข้มแข็งอีกด้วย เมื่อสังคมมีการพัฒนา เจริญเติบโต และมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลไกต่าง ๆ ที่จะจัดการให้สังคมมีความสงบสุขเกิดขึ้นนั้น จึงต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย และสิทธิและเสรีภาพจึงเป็นอีกกลไกหนึ่งในสังคม ที่จะกำหนดว่าสังคมนั้น ๆ มีความสุข สงบ และสันติ หรือไม่

ความหมาย

สิทธิ คือ ประโยชน์หรืออำนาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้มีการละเมิด รวมทั้งบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในการเลือกอาชีพ ถิ่นที่อยู่ การเดินทาง สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 อธิบายความหมาย “สิทธิ” ไว้ว่า “ความสำเร็จ หรืออำนาจที่จะกระทำการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย”[1]

เสรีภาพ เป็นคำที่ถูกใช้เคียงคู่กับคำว่า “สิทธิ” เสมอว่า “สิทธิเสรีภาพ” จนเข้าใจว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน แท้จริงแล้ว คำว่า “เสรีภาพ” หมายถึง อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดำเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่การที่ มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแล้วแต่ละคนจะตัดสินใจกระทำการหรือไม่กระทำการสิ่งใดนอกเหนือ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ย่อมต้องคำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรม ดังเช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บ่งบอกถึงเรื่องเสรีภาพในการประกอบอาชีพไว้อย่างน่าสนใจว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจะใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า …”[2]

สิทธิและเสรีภาพ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการบ่งชี้ว่าสังคมหรือบ้านเมืองใด มีความสงบสุขมีสันติ มีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่

สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้นำเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรก ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน”[3] และ “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”[4] แม้ว่าจะวางหลักไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่ในเมื่อไม่มีกฎหมายมารองรับ ในบางเรื่องจึงมีการละเมิดจนเกิดผลเสียต่อการปกครองบ้านเมือง เช่น การตั้งสมาคมคณะราษฎร ที่มีกิจกรรมในทางการเมืองประหนึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะราษฎรกับขุนนางชั้นสูง เป็นต้น

นับแต่นั้นมา ในการจัดทำรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นประการสำคัญเสมอ เพราะมองว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากละเลยหรือไม่คุ้มครองเรื่องเหล่านี้ย่อมส่ง ผลต่อเกียรติภูมิของประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบการจัดทำไว้ว่า “…มีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น…”[5] และในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ยึดกรอบดังกล่าว และได้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้งได้กำหนดออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อความเข้าใจของประชาชนผู้ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ

การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยแบ่งออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนมีเจตนารมณ์สรุปได้ดังนี้

1. การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยจากการใช้อำนาจใด ๆ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร

2. ความเสมอภาค มีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติแก่บุคคลที่มีความแตกต่างกันว่าย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

3. สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มีเจตนารมณ์เพื่อประกันสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายในเคหสถาน การเลือกที่อยู่อาศัย การเดินทาง เกียรติยศชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว การสื่อสารของบุคคล การนับถือศาสนา การป้องกันมิให้รัฐบังคับใช้แรงงาน

4. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกี่ยวกับความ รับผิดทางอาญามิให้ต้องรับโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่กระทำความผิด คุ้มครองความเสมอภาค และการเข้าถึงได้โดยง่ายในกระบวนการยุติธรรม การได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา

5. สิทธิในทรัพย์สิน มีเจตนารมณ์เพื่อประกันความมั่นคงในการถือครองทรัพย์สิน ประกันสิทธิของผู้ถูกเวนคืนทรัพย์สินที่ต้องกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรม

6. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มีเจตนารมณ์เพื่อประกันเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การแข่งขันทางธุรกิจที่เป็นธรรม ความปลอดภัย สวัสดิภาพ และการดำรงชีพของคนทำงาน

7. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคลและสื่อมวลชนด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การกำหนดมิให้รัฐจำกัดเสรีภาพการแสดงออกของบุคคล เว้นแต่เพื่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อคุมครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อีกทั้งเพื่อป้องกันมิให้รัฐสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ คุ้มครองและจัดสรรคลื่นความถี่อย่างเป็นธรรม ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และป้องกันการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย จึงป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม รวมถึงการแทรกแซงทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มีเจตนารมณ์เพื่อให้บุคคลมีความเสมอภาคในการได้รับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งรัฐจะต้องจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้เรียน คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

9. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ มีเจตนารมณ์เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสาธารณสุขจากรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ การดำรงชีพของผู้สูงอายุ

10. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ การรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การร้องทุกข์ การโต้แย้งการปฏิบัติราชการในทางปกครอง และเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการฟ้องหน่วยงานของรัฐ

11. เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ คุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการใช้พื้นที่สาธารณะ คุ้มครองการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น คุ้มครองการตั้งพรรคการเมืองเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในระบบรัฐสภา

12. สิทธิชุมชน มีเจตนารมณ์เพื่อรับรองสิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม คุ้มครองบุคคลในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

13. สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุ้มครองบุคคลในการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองด้วยวิถีทางที่มิชอบ

ทั้งนี้ หากได้พิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่าสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนั้น จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ (1) สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล (2) สิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ และ (3) สิทธิและเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

สิทธิและเสรีภาพของประชาชน นอกจากจะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแล้ว ในความเป็นประชาคมโลกที่มีความแตกต่างกันตามอัตลักษณ์ของแต่ประเทศ จึงมีวิถีปฏิบัติต่อประชาชนของตนแตกต่างกัน และเพื่อให้มนุษย์ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเหมือนกัน จึงได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับที่ประเทศภาคีสมาชิกยึดถือปฏิบัติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หากพบว่าประเทศภาคีสมาชิกใดละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ย่อมได้รับการลงโทษ ตอบโต้ หรือนำมาตรการทางเศรษฐกิจมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้.

อ้างอิง

  1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 1 : อักษรเจริญทัศน์. กรุงเทพฯ, 2525.
  2. http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm ; วันที่ 20 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 นาฬิกา
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 . มาตรา 12, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 537. วันที่ 10 ธันวาคม 2475.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475. มาตรา 13, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 537. วันที่ 10 ธันวาคม 2475.
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. คำปรารภ, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1. วันที่ 11 ตุลาคม 2540.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

  • เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย

 

ชาร์ลส์ ดาร์วิน

บิดาแห่งวิชาพันธุ์ศาสตร์

ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผู้มีบทบาทนำให้เกิดการศึกษาค้นพบทฤษฎีวิวัฒนาการมากที่สุด ดาร์วินเสนอควาามคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เป็นแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ระยะต่อมา ดาร์วินเห็นว่าอินทรีย์มีการแข่งขันกันเพื่อต่อต้านอำนาจของธรรมชาติ อินทรีย์ที่มีลักษณะดีที่สุด สามารถต่อสู้กับแรงกดดันได้มากที่สุด สามารถมีชีวิตรอดในอัตราส่วนสูงที่สุด จะถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม นั้นให้กับอินทรีย์รุ่นต่อมา ถึงแม้ว่าดาร์วินจะไม่ได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรม ก็ยังมีนักสังคมศาสตร์หลายคนได้นำเสนอแนวความคิดประยุกต์ทฤษฎีวิวัฒนาการ มาอธิบายวิวัฒนาการวัฒนธรรมเช่น การปรับตัวของวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ เหมือนกับการปรับตัวของสัตว์ ความคิดนี้เรียกว่า Social Darwinism เป็นลัทธิที่อธิบายว่านโยบายชาวผิวขาวของชาติตะวันตกย่อมมีลักษณะ ดีกว่าสามารถครอบงำประชากรโลกที่สามได้

เกิดเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 สถานที่เกิด ในชูร์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ ชาร์ล ดาร์วิน เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งได้ให้ผลการพิสูจน์สำหรับทฤษฎีวิวัฒนาการ ในวัยเด็กดาร์วินสนใจในธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ เขาได้ศึกษาวิชาแพทย์ในวิทยาลัย แต่ก็ไม่ชอบ จึงได้ศึกษาวิชาศาสนาแทน แต่ก็ศึกษาวิชาชีววิทยา ธรณีวิทยา และฟอสสิสไปด้วย ในปี 1831 หลังจากที่เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้ว เขาได้เดินทางศึกษาวิทยาศาสตร์รอบโลกด้วยเรือของราชนาวีอังกฤษที่ชื่อบีเกิล และได้รวบรวมฟอสสิสและศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่มีชีวิตที่เขาได้พบเห็น การเดินทางครั้งนี้ทำให้ดาร์วินมีความเชื่อว่าพืชและสัตว์ทั้งหลายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในทันทีทันใด แต่ชนิดของต้นไม้หรือสัตว์มีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนา สิ่งเก่าตายไปหลังจากเวลาอันยาวนาน ดาร์วินได้ใช้เวลา 20 ปี ต่อมาในอังกฤษรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของเขา และหมกมุ่นสนใจกับหลักฐานและความรู้สารพัดสิ่งที่ได้รับมา

ค.ศ. 1838 ดาร์วิน ได้รับตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม และลงมือศึกษากฎพื้นฐานสำคัญในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ค.ศ. 1839 เขาแต่งงานกับ เอมมา เวดจ์วูด และต่อมามีลูกด้วยกันถึง 7 คน

เขายังคงนิสัยรักธรรมชาติ และสนใจสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนอื่นมองข้าม เขาย้ายจากลอนดอนไปอยู่ชนบทเล็ก ๆ ในเคนท์ และชอบใช้ชีวิตเงียบ ๆ อยู่ในสวน อ่านหนังสือ ดูต้นไม้ เขียนจดหมายโต้ตอบกับเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักค้นคว้าด้วยกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด มีทัศนคติกว้างไกลยิ่งขึ้น

จากการศึกษาตัวเพรียง และซากฟอสซิลที่เก็บสะสมมา เขาเกิดสงสัยว่าทำไม รูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดถึงมีการเปลี่ยนแปลง เขาลองผสมพันธุ์พืชและสัตว์ และเกิดความคิดทฤษฎีว่าด้วยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ คือ สิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืชต้องการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่ ส่วนที่อ่อนแอ ไม่เหมาะสมก็จะตายหรือสูญพันธุ์ไป และดาร์วินก็ได้คิดทฤษฎีวิวัฒนาการที่ว่า สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเป็นผลของการพัฒนา สิ่งมีชีวิตในอดีตความเปลี่ยนแปลงนั้นดำเนินเป็นขั้นตอนโดยอาศัยเวลานานเป็นพันเป็นหมื่นปี ในช่วงนี้เองที่เขาเสนอแนวคิดว่ามนุษย์อาจมีวิวัฒนาการมาจากลิง ความคิดน่าขัน น่าอาย ดังกล่าวก่อให้เกิดการโต้เถียง ขัดแย้งกันรุนแรงแต่ก็ ทำให้ประชาชนหันมาสนใจ

ในที่สุดอีก 10 ปีต่อมาความคิดนี้ก็เป็นที่ยอมรับ แม้กระทั่งพวกพระหรือ นักบวชในศาสนา ดาร์วิน มีอายุยืนยาวถึง 74 ปี ตลอดเวลาเขาไม่เคยหยุดค้นคว้าเพราะความสนใจ และมีใจรัก ในช่วง ค.ศ. 1862-1881 เขามีงานเขียน เป็นหนังสือออกมาหลายเล่ม และเป็นที่น่าสนใจต่อมหาชน  ค.ศ. 1882 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ถึงแก่กรรม ในวันที่ 19 เมษายน ในนามของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ศพของเขาฝังอยู่ ณ โบสถ์ เวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ใกล้กับศพของ ไอแซก นิวตัน ทุกวันนี้ทั่วโลกยังยึดหลักการพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการอยู่ เพียงแต่ รายละเอียดและประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างอาจถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะ-สม อีกทั้งยังมีการเสนอทฤษฎีและหลักฐานข้อมูลใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา

เช่น เมื่อ พ.ศ. 2535 ได้พบซากโครงกระดูกหรือจะพูดให้ถูกก็คือ ฟอสซิลโครงกระดูกและชิ้นส่วนบางอย่างของบรรพบุรุษมนุษย์ มีอายุถึง 4.4 ล้านปี เรียกกันสั้น ๆ ว่า รามิดัส ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานรู้ถึงอดีตแห่งวิวัฒนาการมนุษย์ได้มากขึ้น

รามิดัส เป็นบรรพบุรุษมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ เพราะมนุษย์อย่างเรา ๆ ที่เรียกว่า ไฮโมซาเปียนส์นั้น มีกำเนิดเมื่อประมาณสามถึงสี่แสนปีมานี่เอง

เดิมทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน มนุษย์กับลิงมีจุดกำเนิดเดียวกันแล้วจึงแยกสายพันธุ์กันไปและการพบรามิดัสก็ทำให้เชื่อว่าบรรพบุรุษร่วมของมนุษย์ กับลิงน่าจะมีชีวิตอยู่เมื่อหกล้านปีก่อนจริงตามหลักฐานทางชีวเคมี

เรือหลวงบีเกิลและชาร์ลส์ ดาร์วิน ผุพังเสื่อมสลายตายจากไปตามกาลเวลา ทว่า ความดีงาม และคุณประโยชน์ที่ได้นั้น ได้มอบให้เป็นของขวัญอันล้ำค่าแก่ชาวโลกตลอดกาลนาน

ในปี 1859 เขาได้พิมพ์หนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ซึ่งมีชื่อว่า On the Origin of the Species ดาร์วินถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1882 เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุ์ศาสตร์  ผู้ค้นพบการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม

Bristol Pound

From Wikipedia

The Bristol Pound (£B) is a form of local complementary currency, or community currency launched in Bristol, UK on 19 September 2012.[1] Its objective is to encourage people to spend their money with local, independent businesses in Bristol and the former County of Avon.[2] As of September 2012 it is the largest alternative in the UK to official sterling currency, though it is backed by Sterling.

Background

The Bristol Pound is a local and community currency that was created to improve Bristol’s local economy.[3] Its primary aim is to support independent traders in order to maintain diversity in business around the city.[4] The scheme is a joint not-for-profit enterprise between Bristol Pound Community Interest Company and Bristol Credit Union.[5]

Previous to the Bristol Pound, local currencies were launched in the UK in Totnes (2006),[6] Lewes (2008), Brixton (2009)[7] and Stroud (2010).[4]

The Local Multiplier Effect

If a person spends Bristol Pounds at a local shop, the owner of this shop can respend them by using them to buy supplies from another local business, pay local taxes (Business Rates or Council Tax) to Bristol City Council. The business can for instance use their Bristol Pounds to pay a farmer in the Avon area for fresh fruit and vegetables. This farmer can pay a local architect, which accepts Bristol Pounds, to renovate a part of his farm, and so on. In this way money keeps on circulating locally to benefit local independent businesses in the area; this is called the Local multiplier effect.[8] If the person had spent Sterling Pounds at a supermarket chain instead, for example, more than 80% of their money would have left the area almost immediately.[9] Use of a local currency thus increases cash flow between independent businesses and stimulates local employment and sustainable local economic development.[10]

Using a local currency not only stimulates the local economy, but also creates stronger bonds within the community by increasing social capital.[11] Moreover, buying locally decreases emissions through reduced transportation externalities. Generally, internal trade through the use of complementary currencies is a resilience strategy, which reduces the impact of national economic crises and dependency on international trade (e.g. fossil fuels, food, etc.) by enhancing self-sufficiency. Finally, the use of a local currency increases the awareness of the impact of one’s economic activity.[9]

Bristol Pound contributed to Bristol being awarded the title of European Green Capital 2015.[12]

Usage

Bristol is the first city in the UK in which taxes and business rates can be paid in Bristol Pounds[5] Bristol Pound account holders can convert £Bs to and from pounds sterling and backed 1-1 by pound sterling.[13] Bristol City Council, and other organisations in the city, offer their employees part their salaries in Bristol Pounds. The former Mayor of Bristol, George Ferguson, accepted his entire salary (£51,000) in Bristol Pounds.[14]

Since June 2015 energy bills can be paid in Bristol Pounds to the 100% renewable energy provider, Good Energy. Its CEO claimed it is a world first for paying energy bills using a local currency.[15]

In June 2015, according to the Bristol Pound CEO some £1million had been issued in £Bs, with more than £B700,000 still in circulation.[9] More than 800 businesses accept Bristol Pounds and more than a thousand users have a Bristol Pound account.

Organisations involved

The Bristol Pound is managed by the non-profit Bristol Pound Community Interest Company in collaboration with the local financial institution, the Bristol Credit Union. The Bristol Credit Union ensures that every physical £1 converted to a printed £B1 is backed in a secure trust fund. The scheme is supported by Bristol City Council.[16]

Bristol Pound is part of a larger international movement of local currencies. The European funded Community Currencies in Action partnership provides support for communities which want to develop their new currency and works on innovations.[17] Within the UK, Bristol Pound CIC founded and maintains the Guild of Independent Currencies – a platform for sharing experiences about local currencies. In this framework, Bristol CIC is currently working with Exeter, amongst others, helping it to launch its own local currency; the Exeter Pound.[9]

Using the Bristol Pound

The Bristol Pounds can be used in both paper and electronic format, like conventional money. One Bristol Pound is equivalent to one Sterling Pound. Some businesses apply discounts for customers paying in Bristol Pounds.[18] Local taxes and electricity bills can be paid with Bristol Pounds online.

Paper Bristol Pounds

Paper £Bs can be used by anyone, have been designed by Bristolians, and carry many high security features to prevent fraud.[10] In June 2015 new paper £Bs were issued. These can be exchanged at a 1-1 rate for sterling (f£1 for £B1) at seventeen different cash points throughout the city, or ordered online (Bristol Pound Website).

Electronic payments

The Bristol Pound was the second local scheme (after the Brixton Pound) to be able to accept electronic payments in the UK.[3] This allows, for example, participating small businesses to accept payments by SMS, without needing to pay for and install a credit card machine.[19] The businesses are charged 2% of the sum for payments made by SMS, a similar or sometimes reduced rate than credit or debit card charges, or PayPal (3%). Payments can also be made online, with the recipient of each payment charged at a rate of 1%, capped at 95p per transaction.

Legality

Every paper £B is backed up by a pound sterling deposited at Bristol Credit Union.[16] The Bristol Pound is not legal tender, and participation is therefore voluntary.[5][20] The directors of the scheme cannot prevent national and multinational companies accepting paper £Bs, but can decide, based on the Rules of Membership, whether a business is permitted to open a Bristol Pound account and trade electronically.[21]

Bristol Pounds can only be exchanged back into pounds sterling via an electronic Bristol Pound account. There is no fee for doing this.[22] Paper Bristol Pounds cannot be directly exchanged back to sterling unless deposited into an electronic account and then converted back from there. Technically, the notes are vouchers and the first issue of the paper Bristol Pounds also have an expiry date (30 September 2015). The Bank of England acknowledges the existence and role of local currencies.[23]

Additionally, the Treaty of Lisbon specifies that “The banknotes issued by the European Central Bank and the national central banks shall be the only such notes to have the status of legal tender within the Union.[24]